Chocolat (2000) หวานนัก...รักช๊อกโกแลต
: BD-2685-D
Bluray 25GB 1 แผ่น
พากย์ : English 5.1 DTS-HD MA/ Thai 5.1 Dolby Digital | บรรยาย: English/ Thai
ไม่ติด Cinavia เล่นได้ทุกเสียง
รายละเอียด
งานประพันธ์ของ Joanne Harris แสดง บทบาทของศาสนาที่มีต่อสังคมมนุษย์ และ ความขัดแย้งภายในที่เกิดขึ้นจากคนในสังคม โดยรายงานฉบับนี้จะนำเสนอบทบาทของศาสนาผ่าน การเปลี่ยนแปลงของศาสนาดั้งเดิมของหมู่บ้าน หรือ ศาสนาฝั่งท่านเคาท์ ภายหลังที่ วิอานน์ (Vianna) และ ลูก เข้ามาในหมู่บ้าน ฉาก เปิดเรื่อง นำเสนอบทบาทของศาสนาด้านที่เป็นขนบธรรมเนียมประเพณี หรือ สิ่งที่คนในสังคมปฏิบัติกันมายาวนาน เพราะเชื่อว่า สิ่งที่ทำนั้น คือ สิ่งที่ดีงาม และ ในฐานะสมาชิกในสังคมมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตาม หาก ไม่ปฏิบัติตามจะถูกคนในสังคมกีดกัน หรือ การลงโทษโดยหมู่ชน ในฉากนี้ ศาสนา เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลมากในคนหมู่มาก เป็นทั้งกฎกติกาการอยู่ร่วมกัน ตลอดจน วิถีชีวิตของคนในสังคม ในแง่หนึ่ง ศาสนาคือ สิ่งที่ยึดเหนี่ยวคนในสังคมเอาไว้ด้วยกัน ให้สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างปกติสุข แต่อีกแง่หนึ่ง เปรียบเสมือนคุกทางความคิดที่คุมขังคนไว้ ปิดตัวเองไว้ในโลกที่มีแต่เรา ตัดสินคนอื่นที่ไม่เหมือนเราว่า เป็นคนไม่ดี เป็นที่มาของ Excommunication ในยุคมืดของศาสนาคริสต์ อาจอธิบายว่า ศาสนาดั้งเดิมของหมู่บ้านนั้น คือ สิ่งที่สร้าง วาทกรรมของเหตุผล (rational discourse) มาควบคุมมนุษย์ไว้ เมื่อศาสนา คือ เหตุผลของความถูกต้อง มนุษย์ที่คิดต่างจากสิ่งที่ศาสนากำหนด คือ การไม่ยอมรับในระบบเหตุผลนั้น ผลลัพธ์ที่ตามมา คือ ถูกขับไล่ออกไป เพื่อคงไว้ซึ่งระบบเหตุผลนั้น หลัง จากที่วิอานน์ และ ลูกเข้ามาในหมู่บ้าน ความมั่นคงของศาสนาเริ่มสั่นคลอน หรือระบบเหตุผลของสังคมเริ่มถูกทำลาย ท่านเคาท์จึงพยายามทุกวิถีทางที่จะขับไล่วิอานน์ และ ลูกให้ออกไปจากหมู่บ้านเพื่อคงไว้ซึ่งระบบเหตุผลที่ตนเองเชื่อ สร้างความแปลกแยกระหว่าง วิอานน์ กับ คนในหมู่บ้านขึ้นให้ค่าการกระทำที่ต่างจากตัวเองว่าเป็น สิ่งที่ไม่ดี ในมุมภาพยนตร์ วิ อานน์ คือ ผู้ที่ทำลายศาสนาเดิมของหมู่บ้าน หรือ ระบบเหตุผลของสังคม ในอีกแง่หนึ่ง ศาสนาต่างหากที่เป็นผู้ทำลายตัวเอง จากภาพยนตร์ถัดจากฉากแสดงความยิ่งใหญ่ของศาสนาแล้ว มีการนำเสนอคนในสังคมในรูปแบบที่ผิดธรรมชาติ เช่น คนในหมู่บ้านแต่งตัวด้วยชุดเป็นระเบียบเรียบร้อยไปโบสถ์ เพื่อฟังคำหลักธรรมกันอย่างพร้อมเพรียง แต่ทว่า ระหว่างที่นั่งฟัง บ้างก็หลับ บ้างก็หลุกหลิก แสดงถึงพฤติกรรมอันไร้ระเบียบ เปรียบเสื้อผ้าที่เรียบร้อย คือ มายาคติ หรือ สิ่งที่ถูกสร้างขึ้นในสังคม ส่วนพฤติการณ์ คือ ความสับสนที่ถูกซ้อนเร้น สะท้อนความขัดแย้งภายในของศาสนาเอง เช่นเดียวกัน เมื่อความมีเหตุผลของศาสนา เริ่มแบ่งแยกความรู้สึกมนุษย์ สิ่งที่อยู่ตรงข้ามก็คือ ความไร้เหตุผล(Irrationality) มนุษย์ จะถูกกดดันจากตรรกะที่ถูกสร้างขึ้นนี้ และ คิดว่ามีบางอย่างที่ไร้เหตุผลซ้อนอยู่ภายใน ความขัดแย้งนี้ คือ จุดเริ่มต้นการล้มสลายของศาสนาดั้งเดิม คนในหมู่บ้านในยามที่ถูกกดดันจากระบบเหตุผลของศาสนาอย่างเคร่งครัด เริ่มสร้างกำแพงที่กั้นตัวเองออกจากคนรอบข้างขึ้น โดยมาในรูปแบบของความสัมพันธ์ไม่ดีระหว่างคนในหมู่บ้าน ครอบครัวที่มีปัญหา ระหว่างแม่กับลูก สามีกับภรรยา พฤติกรรมที่เห็นได้ชัดถึงผลกระทบของความกดดัน คือ ชายชราคนหนึ่งที่แอบรัก หญิงชราแม่ม่าย แต่ไม่กล้าเข้าไปทำความรู้จัก เพราะกลัวถูกมองว่าไม่ดีจากคนรอบข้าง กำแพงเหล่านี้ได้สร้างความเป็นปัจเจกขึ้นกับคนแต่ละคนในหมู่บ้าน ระบบเหตุผลที่คนในหมู่บ้านสร้างไว้ในรูปของศาสนา กฎระเบียบ คือ ความแปลกแยกและขัดแย้งกับวิธีคิดที่แบ่งสิ่งต่างๆไว้เป็นสองด้าน คือ ด้านที่เป็นความดีงาม และ เลวทราม เป็นสิ่งที่สร้าง ความไร้เหตุผลขึ้น ซึ่งสวนทางกับเป้าหมายในระเบียบสังคมที่มีอยู่ จากแนวคิดที่ต้องการให้คนในหมู่บ้านได้อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข กลับกลายเป็นแนวคิดที่สร้างปัญหาให้คนในสังคมไม่สิ้นสุด ยามความขัดแย้งมาถึงขีดสุด ความล่มสลายของระบบเหตุผลก็เกิดขึ้น ในภาพยนตร์ได้แสดงจุดนี้ในฉาก ที่ท่านเคาท์กินช๊อกโกแลตในร้านของวิอานน์ แสดงให้เห็นถึงขีดสุดของมนุษย์ที่ถูกกดดัน อิสรภาพ หรือการทำตามใจตัวเอง คือคำตอบสุดท้ายที่คนในหมู่บ้านต้องการ บท สรุปสุดท้ายในภาพยนตร์ ไม่มีทั้งผู้แพ้และผู้ชนะ กล่าวเพียงการปรับระบบความคิดของแต่ละฝ่ายให้สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่าง สันติสุข แท้จริง วิอานน์อาจไม่ใช่ผู้นำความแปลกแยกมาสู่ศาสนาเดิมของหมู่บ้าน แต่เป็นผู้นำเป้าหมายเดิมของศาสนาที่ถูกลืมเลือนจากระบบเหตุผลกลับมา คือ สร้างกฎเกณฑ์ให้คนสามารถอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ไม่ใช่ กฎเกณฑ์ที่ถูกสร้างกรอบให้คนในสังคม